รู้เรื่องบ้าน ตอนที่ 4 ซ่อมทั้งที ทำให้ดี บ้านก็มีหัวใจ







เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง บ้านจะเกิดความชำรุด ทุรดโทรม เสียหาย เราจึงควรทราบแนวทางการซ่อมแซมบ้านเอาไว้ เพื่อจะได้ดำเนินการซ่อมแซมอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่วนไหนควรเรียกใช้มืออาชีพ ส่วนไหนสามารถซ่อมได้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การซ่อมลักษณะไหนที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตตามกฎหมาย ลักษณะไหนที่สามารถดำเนินการได้เลย

ตรวจสุขภาพบ้าน ยั้บยั้งความเสียหายก่อนลุกลาม

รู้เรื่องบ้าน_402

โดยทั่วไป เรามักซ่อมแซมบ้านเมื่อปรากฏความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้อีก ต้องรื้อและทำใหม่ทั้งหมด ทำให้เสียเวลาสิ้นเปลืองเงินทอง ต่างจากคนไทยสมัยโบราณที่จะไม่รอจนกระทั่งน้ำฝนเจิ่งนองไปทั่วบ้าน จึงค่อยปีนขึ้นไปซ่อมหลังคา แต่จะตรวจตราความเรียบร้อยของหลังคาและฝาบ้าน แล้วลงมือซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนถึงฤดูฝน และเมื่อถึงฤดูฝนและฤดูน้ำหลากผ่านพ้นไป ก็จะซ่อมแซมเรือนที่เสียหายให้กลับมามีสภาพที่ดีดังเดิมอีกครั้ง การตรวจตราความเรียบร้อยของอาคารบ้านเรือนเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องแต่เนิ่นๆ จึงช่วยป้องกันไม่ให้ความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ ลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของบ้านควรหมั่นตรวจตราส่วนต่างๆ ของบ้านเป็นประจำ หาก พบจุดเสียหายควรรีบซ่อมแชมทันที

สำรวจความเสียหาย ก่อนลงมือซ่อมแซม

การซ่อมบ้าน ควรเริ่มจากการสำรวจบ้านให้ทั่วว่ามีจุดบกพร่องเสียหายตรงไหนบ้าง โดยอาจสำรวจสิ่งต่างๆ ของบ้าน ดังต่อไปนี้

๐ โครงสร้าง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย เช่น ฐานรากอาคารทรุด เสาบ้านเอียง คานหัก ผนังร้าว หลังคารั่ว

๐ สถาปัตยกรรมและงานตกแต่งภายใน เช่น วงกบหน้าต่าง วงกบประตูบวม ประตูเอียงหรือตก ราวบันไดหัก ปาร์เก้ต์ลอย ฝ้าเพดานเปื่อยยุ่ย

๐ ระบบสุขาภิบาล เช่น ท่อระบายน้ำอุดตัน ส้วมเหม็น ส้วมเต็ม ท่อประปารั่ว

๐ ระบบไฟฟ้า เช่น ไฟรั่ว สวิตช์ ปลั๊กไฟเสื่อมสภาพ

ความเสียหายแต่ละจุด มีระดับความเร่งด่วนในการซ่อมต่างกัน จุดที่ต้องให้ความสำคัญมาก คือความเสียหายด้านโครงสร้าง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้อยุ่อาศัย เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าโครงก่อสร้างจะยุบตัวจนพังทลายลงมาหรือไม่ ดังนั้น หากพบว่าโครงสร้างอาคารบ้านเรือนเสียหาย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรทันที

ส่วนความเสียหายด้านสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และอื่นๆ แม้จะไม่อันตรายมาก (ยกเว้นระบบไฟฟ้า) แต่ก็เกี่ยวข้องกับความสะดวกสบาย และความปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย หากเป็นไปได้ก็ควรลงมือซ่อมให้เร็วท่สุด

ตรวจสอบด้านกฏหมายก่อนลงมือ

ก่อนลงมือซ่อมแซมควรตรวจสอบด้านกฎหมายก่อนว่า การซ่อมแซมลักษณะไหนที่เข้าข่ายต้องขออนุญาติ ลักษณะที่สามารถทำได้เลย

๐การซ่อมแซมบ้านที่ไม่กระทบกับโครงสร้างอาคารและไม่เข้าข่ายการดัดแปลงต่อเติมที่ต้องขออนุญาต เช่น ทาสีบ้าน เปลี่ยนหน้าต่าง ปูกระเบื้องใหม่ สามารถดำเนินการได้เลยไม่ต้องขอนุญาต

๐การซ่อมแซมที่มีการดัดแปลง ต่อเติมโครงสร้างเดิม จะพิจารณาตามเงื่อนไขเรื่องการดัดแปลง ต่อเติม

๐การซ่อมแซมที่กระทบกับโครงสร้างทางวิศวกรรมของอาคารจะต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยให้วิศวกรเป็นผู้ตรวจสอบ

เลือกใช้มืออาชีพ หรือทำเองดีกว่า

๐การซ่อมแซมบ้านที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง เช่น เสา คาน หลังคา รากฐาน ต้องให้ช่างที่มีความรุ้ความชำนาญทำ

๐ส่วนการซ่อมแซมธรรมดาทั่วไป เช่น ทาสใหม่ เปลี่ยนลูกบิด ซ่อมบานพับ บานเกร็ด อาจจ้างฃ่างมืออาชีพ หรือทำได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากผู้รู้ หนังสือ และเว็บไซต์ต่างๆ

๐สำหรับการซ่อมแซมที่ต้องอาศัยความชำนาญและอุปกรณ์เฉพาะทาง เช่น เปลี่ยนวงกบ เปลี่ยนฝ้าเพดาน ทาสีใหม่ เปลี่ยนกระเบื้อง ควรให้มืออาชีพ หรือบริษัทรับจ้างทำงานนี้โดนเฉพาะ จะปลอดภัยและมั่นใจกว่า

ผนังร้าวเรื่องปกติหรืออันตราย

การแตกร้าวของผนังอาคาร เกิดขึ้นเสมอกับบ้านหรืออาคารหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้ว ระดับความรุนแรงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง คือ ปูน อิฐ หิน ทราย น้ำ รวมถึงสภาพอากาศระหว่างการก่อสร้างและปัจจัยอื่นๆ เช่น การทรุดตัวของพื้นดิน

โดยทั่วไป การแตกร้าวของผนังเกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ ดังนี้

๐การแตกร้าวที่เกิดจากปฎกิริยาเคมีและงานฝีมือ

รู้เรื่องบ้าน_403

มีลัษณะเป็นรอยแตกเล็กๆ มักพบตามบริเวณผนังทั้งภายในและภายนอก รวมถึงบริเวณเสาและบริเวณที่มีความชื้น รอยแตกเหล่านี้เกิดจากปูนฉาบที่มีส่วนผสมไม่เหมาะสม เมื่อปูนเริ่มแข็งตัวจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีเกิดความร้อนสูง ทำให้ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้จึงเกิดการแตกผิวที่ปูนฉาบ เรียกว่า “แตกลายงา” รอยร้าวประเภทนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร เพียงแต่ส่งผลต่อความสวยงามเท่านั้น

๐การแตกร้าวที่เกิดจากการประสานตัวของผนังปูนกับวัสดุอื่นๆ

รู้เรื่องบ้าน_404

จะเกิดขั้นบริเวณที่เป็นรอยต่อกับวงกบไม้หรืออะลูมิเนียม มีลักษณะเป้นรอยแตกเล็กๆออกมาจากวงกบในแนวทแยง แนวดิ่ว และแนวนอน สาเหตูอาจมาจากอัตราการยืดหดตัวของวัสดุสองชนิดไม่เท่ากัน ประกอบกับผนังของอาคารภายนอกมีอุณภูมิสูงกว่าผนังด้านใน ทำให้การยืดหดตัวของผนังทั้งสองด้านเปลี่ยนแปลงไม่เท่าดัน ทำให้เกิดการบิดตัวจึง้กิดการแตกร้าวได้

๐การแตกร้าวที่เกิดจากโครงสร้างอาคาร

เป็นรอยแตกที่กินลึกเข้าไปในผนังจนมองเห็นอิฐภายในผนังทั้งสองด้าน และมีการแตกร้าวของโครงสร้าง(พื้น เสา เพดาน) บริเวณใกล้เคียง สาเหตุอาจเกิดจากโครงสร้างอาคาร เช่น เสาเข็มฐานราก คาน แอ่นตัว หรือ ทรุดตัวไม่เท่ากัน หรือเกิดจากการทรุดตัวของพื้นดินตามธรรมชาติ การแตกลัษณะนี้จะมีผลต่อความปลอดภัยและการรับน้ำหนักส่วนอื่นๆ ของอาคาร

โดยทั่วไปแล้ว การแตกร้าวแบบ แตกลายงา และการแตกร้าวที่เกิดจากการประสานตัวของวัสดุ บริเวณวงกบไม้ไม่มีอันตรายอะไร สามารถแก้ไขได้โดยอุดรอยร้าวด้วยสีโป๊ว สีอะคริลิค หรือสารเคมีช่วยประสานรอยต่อ แล้วทาสีทับอีกชั้นหนึ่ง

แต่ถ้าเป็นการแตกร้าวที่เกิดจากงานโครงสร้างอาคาร ต้องให้วิศวกรที่ชำนาญด้านโครงสร้างเป็นผู่วิเคราะห์สาเหตและทางแก้ไขเพราะการแตกร้าวแบบนี้ จะมีผลต่อการรับน้ำหนักส่วนอื่นของตัวอาคารด้วย

วิธีซ่อมแซมบ้านเบื้องต้น

  • อาคารทรุดเอียง ต้องดีดยกอาคารและเสริมฐานรากอาคาร โดยต้องปรึกษาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
  • ฐานรากถูกน้ำเซาะ หากฐานรากถูกน้ำเซาะ แต่ยังตั้งอยู่ในสภาพปกติให้ถมดินกลับคืนไป แต่ถ้าฐานรากเอียง ทรุดตัวลงหรือแตกร้าว ต้องให้วศวกรตรวจสอบเพื่อแก้ไขซ่อมแซมต่อไป
  • เสา แตก หัก ร้าว ถ้าเป็นเสาไม้ที่รับน้ำหนักไม่มาก อาจพอหาช่างมาแก้ไขได้ แต่ถ้าเป็นเสาคอนกรีตหัก หรือมีรอยร้าวเป็นแนวเฉียงหรือมีรอยร้าวจนเห็นเหล็กเสริม หรือเสาเอียง ควรให้วิศวกรตรวจสอบแก้ไขทันที เนื่องจากเสาดังกล่าวอาจสูญดสียกำลังในการรับน้ำหนักและพังทลายลงมาได้
  • คานแตก ร้าว หัก ถ้าเป็นคานไม้ สังเกตได้ไม่ยาก ยังพอหาช่างมาดามด้วยไม้หรือเหล็ก หรือเปลี่ยนไม้ใหม่ ถ้าเปฟ็นคานคอนกรีตมีรอยแตกร้าว โดยรอยแยกของรอยร้าวกว้างมากกว่า 0.5 มิลลิเมตร ควรให้วิศวกรตรวจสอบแก้ไขจะปลอดภัยกว่า แต่ถ้ารอยแยกกว้างน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร อาจต้องตรวจดูรอยร้าวที่เนื้อคอนกรีตโดยสกัดปูนฉาบออกมาดูว่ามีรอยร้าวที่เนื้อคอนกรีตหรือไม่ (ไม่แน่ใจให้ปรึกษาผู้รู้) หากไม่มีรอยร้าวถือว่าปลอดภัย แค่ฉาบปูนตกแต่งปิดให้เรียบร้อยตามเดิมก็พอ
  • พื้นแตก ร้าว ทรุด สำหรับพื้นไม้แตกร้าวหรือหัก แก้ไขโดยใช้ไม้พื้นขนาดเดียวกันถอดเปลี่ยนเข้าไปแทน ส่วนพื้นคอนกรีตชนิดวางบนดินเกิดการทรุดตัว แตกร้าว (ต้องแน่ใจว่าเป็นพื้นวางบนดินจริงๆ และตัดขาดจากโครงสร้างอื่น) อาจซ่อมแซมโดยรื้อพื้นนั้นออก แล้วผูกเหล็กเทพื้นคอนกรีตใหม่ แต่ถ้าเป็นพื้นคอนกรีตที่อยู่บนคานหรือมีโครงสร้างอื่นรองรับเกิดรอยแตกร้าวอย่างชัดเจน ต้องให้วิศกรหรือผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบแก้ไข
  • บันได ผุ หัก ร้าว ถ้าเป็นบันไดไม้ สามารถซื้อไม้ขนาดเดียวกันมาซ่อมแซมแก้ไขได้ แต่ถ้าเป็นบันไดเหล็กผุหรือหัก ต้องให้ช่างเหล็กมาซ่อม สำหรับบันไดคอนกรีตซึ่งมีน้ำหนักมากควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของวิศวกรตรวจสอบเพื่อแก้ไขต่อไป




ปล. บทความนี้กล่าวถึงการสร้างบ้านในกรุงเทพมหานคร หากสร้างนอกพื้นที่ โปรดสอบถามเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่ท่านอาศัยอยู่

อ้างอิง หนังสือรู้เรื่องบ้าน จาก สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *