เรียนรู้พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ
การจัดองค์ประกอบภาพให้สวยและน่าสนใจ เป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นในการถ่ายภาพ มีพื้นฐานหลายๆข้อช่วยให้เราถ่ายรูปได้ดีขึ้น เมื่อฝึกถ่ายรูปไปสักระยะ จนค้นพบสไตล์ของตัวเองแล้ว การทำตามพื้นฐานเป๊ะๆก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นนัก เหมือนจอมยุทธในหนังจีนที่ฝึกถึงขึ้นไร้กระบวนท่า แต่ถ้าเราเริ่มฝึกถ่ายรูปใหม่ๆ การฝึกฝนตามพื้นฐานก็จะช่วยให้เราถ่ายรูปได้ดีขึ้นเร็วขึ้นครับ
พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้น
- สิ่งที่ควรตรงต้องตรง ต้องได้ระนาบ การถ่ายรูป ตึก ต้องตรง เส้นขอบฟ้าได้ระนาบไม่เอียง
ขอบฟ้าเอียง
ขอบฟ้าตรง
- ถ่ายภาพแนวนอนกับแนวตั้ง ส่วนใหญ่ในการถ่ายภาพนั้นเราถ่ายแบบแนวนอน ลองเปลี่ยนเป็นแนวตั้งดูบ้าง อารมณ์ของภาพที่ออกนั้นก็ต่างกันไปด้วย
- การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง และ การจัดองค์ประกอบภาพตามจุดตัด 9 ช่อง การถ่ายภาพให้วัตถุอยู่กลางภาพทำให้วัตถุนั้นดูน่าสนใจอยู่แล้ว แต่การวัตถุไว้ตามจุดตัด 9 ช่อง ก็ทำให้ภาพสวย ดูแปลกตายิ่งขึ้น ข้อควรระวัง คือ เรื่องโฟกัสนะครับ เราต้องโฟกัสที่วัตถุก่อน แล้วค่อยจัดองค์ประกอบ ไม่งั้นวัตถุนั้นอาจจะไม่ชัดได้
จัดให้วัตถุอยู่กลางภาพ
จัดให้วัตถุอยู่บริเวณจุดตัด 9 ช่อง
- ลองขยับสักนิดเพื่อเปลี่ยนฉากหลัง หลายๆครั้งครับที่เรายกกล้องขึ้นถ่ายแล้วพบว่าฉากหลังรกรุงรังหรือแบนราบไม่มีมิติ เราแค่ขยับเปลี่ยนจุดถ่ายสักนิด ก็สามารถทำให้ภาพเราน่าสนใจขึ้นได้ ลองเปรียบเทียบ 2 ภาพนี้ดูครับ
- ถ่ายภาพให้มีฉากหน้า มีมิติความลึก การมีวัตถุอยู่ฉากหน้าในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือการแบ่งภาพเป็น 3 ส่วนตามแนวนอน ช่วยให้ภาพมีมิติ มีความลึกในภาพ
- หาเส้นนำสายตา เราอาจหาเส้นนำสายตาเพื่อนำไปสุ่จุดสนใจในภาพ อาจเป็นทาง สายน้ำ
- เข้าใกล้วัตถุเพื่อเพิ่มอารมณ์ของภาพถ่าย
- ดวงตาต้องชัด สำหรับคน แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดวงตาคือสิ่งสื่ออารมณ์ ฉะนั้นต้องให้ดวงตาชัดไว้ก่อน
- เลือกช่วงเวลาในการถ่ายภาพ โดยทั่วไปช่วงเวลาในการถ่ายภาพนั้นที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพ คือ ตอนเช้าและตอนเย็นๆ จะมีแสงสวยงาม แต่ก็ไม่เสมอไป ในวันที่อากาศดีๆ ท้องฟ้าโปร่งๆ บางทีท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้มทั้งวัน เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ภาพสวยๆครับ สำคัญคือเราต้องหาโอกาสให้ตัวเองอยู่ถูกที่ถูกเวลา ออกไปฝึกถ่ายรูปกันครับ 😀
ท้องฟ้าใสๆยามบ่าย เมฆสวยๆช่วยระบายสีท้องฟ้าให้ภาพธรรมดาสวยขึ้นได้
บรรยากาศยามเย็ม แสงสีจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็ต้องรอคอยเวลานั้น
หลังจากหาฝึกฝนกันแล้ว หากจะก้าวหน้าต่อไป เราจำเป็นจะต้องรู้พื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ การปรับค่า F ความเร็วชัตเตอร์และค่าความไวแสงกันแล้วล่ะครับ
ไปพบกับ การถ่ายภาพเบื้องต้น ตอนที่ 3 ครับ
สนใจอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพได้ที่