กล้องฟิล์ม รุ่นไหนดี ที่น่าสะสม






กล้องฟิล์ม อุปกรณ์ถ่ายภาพที่คลาสสิคและจะกลายเป็นตำนาน

Zeiss ikon Nettar711

วันนึงผมได้กล้องกระโปรง Ziess Ikon นี้มาจากร้านขายของเก่าญี่ปุ่น เอามาล้าง ทำความสะอาดแล้วปรากฎว่ายังใช้ได้ เลยซื้อฟิล์มมาลองถ่ายดู ทำให้คิดถึงบรรยากาศสมัยเริ่มหัดถ่ายรูป อารมณ์อยากได้กล้องฟิล์มมาเต็มๆ หาข้อมูล เข้าเวบ Ebay นั่งบิดสู้ จึงได้กล้องฟิล์มมาสะสมหลายตัวเลย – -‘

หลักในการเลือกของผม ทุกตัวจะต้องถ่ายภาพได้ในกรณีที่แบตเตอรี่หมด คือมี  Manual โหมดให้ใช้งาน และต้องสามารถปรับตั้งค่าต่างๆได้บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นกล้องแบบ Rangefinder เพราะสวยคลาสสิค มาดูกันครับว่ามีรุ่นไหนกันบ้าง

  1. Olympus 35 RC สำหรับคนที่อยากมีกล้องฟิล์มไว้ใช้สักตัว แนะนำกล้องตัวนี้เป็นตัวแรกเลยครับ ถือเป็นกล้องฟิล์มแบบ Rangefinder ที่เล็กมากๆ เพียง 109x70x50 mm เหมาะสำหรับการพกพา ในขณะที่คุณภาพกลับดีมากๆ  ข้อดีของกล้องนี้คือ มีโหมด Manual ที่ปรับความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงได้เองทั้งหมด%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%a17

Olympus 35 RC เทียบกับ Nikon FE สนใจอ่านรีวิวเกี่ยวกับกล้องOlympus 35 RCได้ที่ https://artyt.me/

2. Yashica Electro 35 เป็นกล้องฮอตฮิตในสมัยที่ออกมา ด้วยราคาที่ไม่แพง แต่ได้เลนส์ที่สว่างและคมน้องๆไลก้า ทำให้ขายดีมากๆ ในปัจจุบันยังหาซื้อกล้องสภาพดีๆได้ไม่ยาก ตัวกล้องสวย แข็งแรง แต่ก็หนัก ใหญ่ พกพายากครับ  Electro 35 มีการผลิตยาวนาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องๆมีหลายรุ่นมากดังนี้

  • Yashica Electro 35 เป็นรุ่นแรก ปี 1966
  • Yashica Electro 35 G ปี 1968
  • Yashica Electro 35 GT (รุ่น G ที่เป็นสีดำ) ปี 1969
  • Yashica Electro 35 GS ปี 1970
  • Yashica Electro 35 GSN ปี 1973 (ผลิต Hong Kong)
  • Yashica Electro 35 GTN (รุ่น GSN ที่เป็นสีดำ) ปี 1973 (ผลิต Hong Kong)%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%a18

แสดงความใหญ่ของYashica Electro 35สนใจอ่านรีวิวเต็มเกี่ยวกับกล้องรุ่นนี้ได้ที่ https://artyt.me/

3. Canon Canonet เป็นกล้องขายดีขึ้นหิ้งของ Canon ด้วยราคาที่ไม่แพง เป็นกล้องแรกๆที่ใช้เซลวัดแสงที่เลนส์ ทำให้ไม่ต้องชดเชยแสงที่ตัวเลนส์  โดดเด่นด้วยระบบ shutter-speed priority กล้องโมเดลนี้มีการผลิตที่ยาวนาน ปรับปรุงมาเรื่อย รุ่นที่นิยมซื้อหามาใช้งานในปัจจุบันคือ Canonet QL 17 GIII  ด้วยน้ำหนักเพียง 2/3 ของไลก้าในสเปคของเลนส์ที่เท่าๆกัน

800px-canonet_giii_ql17_2

The Canonet GIII-17 (Photograph by Fanny Schertzer)

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%a12

Canon Canonet

4. Minolta Himatic 9 กล้องเรือธงของ Minolta ในยุคนั้น แต่นิยมกันมากๆสำหรับคนเล่นกล้องฟิล์มในยุคนี้จะเป็นรุ่น Hi-Matic 7S  และ    Minolta Hi-Matic F

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%a11

มีกระทู้นึงในพันทิป รีวิวกล้อง กล้อง Minolta Hi-Matic 7 ไว้ได้ดีมากๆครับ ซึ่งคุณสมบัติใกล้เคียงกับHi-Matic 9

5. Nikon FE ในตลาดกล้องฟิล์มSLR ก็ต้องนึกถึง Nikon FM2 มันยอดเยี่ยม แต่ด้วยราคาที่ปั่นกันไปเกินจริง สำหรับผมเลยมองๆมาที่ Nikon FE นี่แหล่ะ  ตัวนี้บิดมาได้ในราคา 2,000 บาท นึกถึงตอนสมัยเล่นกล้องใหม่ๆ อยากได้มาก แต่ถอยได้แค่ Nikon FE10

ข้อแตกต่างระหว่าง FE กับ FM ชัดๆก็คือ FE มีระบบ Aperture Priority เพิ่มเข้ามา เราปรับรูรับแสงแล้วกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ ใช้ เลนส์ Nikon Bayonet Mount ความเร็วชัตเตอร์ 8 s ถึง 1/1000 s , B และมีชัตเตอร์ M90 (1/90 s) สำหรับเวลาฉุกเฉินที่ถ่านหมด

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%a19

สนใจอ่านรีวิวเกี่ยวกับกล้อง Nikon FE ได้ที่ https://artyt.me/

ทั้งหมดนี่เเป็นกล้องฟิล์มที่เริ่มสะสมไว้ครับ แต่หลังจากไปออกรอบถ่ายมาสัก 4-5 ม้วน เพื่อระลึกความหลัง ก็ค้นพบสัจจธรรมว่า ยังไงกล้องฟิล์มก็เปลืองและสะดวกสู้กล้องดิจิตอลไม่ได้ นานๆใช้กล้องฟิล์มเพื่อสัมผัสอารมณ์เก่าๆก็พอ ตอนนี้เลยเบรคการสะสม มีไว้โชว์ 4-5 ตัว ก็พอแล้วครับ หายอยากแล้ว 😀




Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *